analyticstracking
ผลสำรวจเรื่อง “ลอยกระทง Festival สู่การกระตุ้นท่องเที่ยวไทย ”
           ประชาชน 73.3% คิดว่าบรรยากาศงานลอยกระทงปีนี้จะกลับมาคึกคักเหมือนก่อน
    ที่จะเจอสถานการณ์โควิด -19
           70.1% เชื่อว่าการจัดงานเทศกาลลอยกระทงในหลายๆ จังหวัดของไทยในปีนี้
    จะช่วยกระตุ้นและฟื้นฟูการท่องเที่ยวไทยได้ระดับมากถึงมากที่สุด
            โดย 76.3% ฝากบอกผู้จัดงาน/ผู้ประกอบการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรม
    ลอยกระทงในปีนี้ให้ตรวจตราและดูแลความปลอดภัยโดยเฉพาะบริเวณริมน้ำและจุดลอยกระทง
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  กรุงเทพโพลล์โดย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความเห็นประชาชนเรื่อง
“ลอยกระทง Festival สู่การกระตุ้นท่องเที่ยวไทย” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชน
ทั่วประเทศ จำนวน 1,040 คน พบว่า
 
                  ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 73.3 มีความเห็นว่าบรรยากาศ
การเที่ยวงานเทศกาลลอยกระทงในปีนี้จะกลับมาคึกคักเหมือนก่อนที่
ประเทศไทยจะเจอสถานการณ์โควิด-19 ระบาด (โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 35.2
ให้เหตุผลว่า คนอยากออกมาเที่ยว/ปลดปล่อย
รองลงมาร้อยละ 27.4 ให้เหตุผลว่า
สถานการณ์โควิดคลี่คลายแล้ว และร้อยละ 10.7 ให้เหตุผลว่า อยากสืบสานประเพณีไทย)
ขณะที่ร้อยละ 26.7 มีความเห็นว่า น่าจะยังไม่กลับมาคึกคัก (โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 12.9
ให้เหตุผลว่า คนยังไม่อยากใช้เงินช่วงนี้ รองลงมาร้อยละ 8.1 ให้เหตุผลว่า โควิด-19
ยังไม่หมด และร้อยละ 3.4 ให้เหตุผลว่า หลายจังหวัดประสบปัญหาอุทกภัย)
 
                  ทั้งนี้ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 70.1 มีความเห็นว่าการจัดงาน
เทศกาลลอยกระทงในหลายๆ จังหวัดของไทยในปีนี้ จะช่วยกระตุ้นและฟื้นฟู
การท่องเที่ยวไทยได้ระดับมากถึงมากที่สุด
ขณะที่ร้อยละ 29.9 มีความเห็นว่า
ช่วยได้น้อยถึงน้อยที่สุด
 
                  ส่วนเรื่องที่ประชาชนอยากบอกแก่ผู้จัดงาน/ผู้ประกอบการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรม
ลอยกระทงในปีนี้มากที่สุด ร้อยละ 76.3 คือ อยากให้ตรวจตราและดูแลความปลอดภัยโดยเฉพาะบริเวณริมน้ำ
หรือจุดลอยกระทง
รองลงมาร้อยละ 63.5 คือ ป้องกันไม่ให้เกิดการทะเลาะวิวาท และร้อยละ 61.6 คือ ควบคุม ดูแล
การจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
 
                  สำหรับเรื่องที่จะอธิษฐานขอจากพระแม่คงคาในวันลอยกระทงปีนี้ นั้น ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ
68.8 ระบุว่า ขอให้สุขภาพแข็งแรงปราศจากโรคภัย
รองลงมาร้อยละ 58.2 ระบุว่า ขอให้มีแต่สิ่งดีๆเข้ามาในชีวิต และ
ร้อยละ 55.7 ระบุว่า ขอให้ตนเองและครอบครัวมีความสุข
 
 
                  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. คิดว่าบรรยากาศการเที่ยวงานเทศกาลลอยกระทงในปีนี้จะกลับมาคึกคักเหมือนก่อน
                  สถานการณ์ โควิด-19 ระบาดหรือยัง


 
ร้อยละ
น่าจะกลับมาคึกคัก
    โดยให้เหตุผลว่า    
คนอยากออกมาเที่ยว/ปลดปล่อย ร้อยละ 35.2
  สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายแล้ว ร้อยละ 27.4
  อยากสืบสานประเพณีไทย ร้อยละ 10.7
73.3
น่าจะยังไม่กลับมาคึกคัก
   โดยให้เหตุผลว่า    
คนยังไม่อยากใช้เงินช่วงนี้ ร้อยละ 12.9
  โควิด-19 ยังไม่หมด ร้อยละ 8.1
  หลายจังหวัดประสบปัญหาอุทกภัย ร้อยละ 3.4
  ปีนี้ไม่ตรงกับวันหยุด ร้อยละ 2.0
  อื่นๆ อาทิ มีข้อห้ามเยอะ ห่างหายไปนาน ฯลฯ ร้อยละ 0.3

26.7
 
 
             2. คิดว่าการจัดงานเทศกาลลอยกระทงในหลายๆ จังหวัดของไทยในปีนี้ จะช่วยกระตุ้นและฟื้นฟู
                  การท่องเที่ยวไทยได้ในระดับใด


 
ร้อยละ
มากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็น ช่วยได้มาก ร้อยละ 59.0 และช่วยได้มากที่สุด ร้อยละ 11.1 )
70.1
น้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็น ช่วยได้น้อย ร้อยละ 27.4 และช่วยได้น้อยที่สุด ร้อยละ 2.5 )
29.9
 
 
             3. เรื่องอะไรที่อยากบอกแก่ผู้จัดงาน/ผู้ประกอบการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการ
                  จัดกิจกรรมลอยกระทงในปีนี้บ้าง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
ตรวจตราและดูแลความปลอดภัยโดยเฉพาะบริเวณริมน้ำ หรือจุดลอยกระทง
76.3
ป้องกันไม่ให้เกิดการทะเลาะวิวาท
63.5
ควบคุม ดูแลการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
61.6
อำนวยความสะดวกให้กับนักท่องเที่ยวให้มากที่สุด
42.5
จัดกิจกรรมและมหรสพต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมไทย
39.5
คัดสรรร้านค้าร้านอาหารที่มีคุณภาพมาจัดจำหน่ายภายในงาน
29.8
อื่นๆ อาทิ การจัดการขยะ ควบคุมการจุดพลุและดอกไม้ไฟ มีหน่วยปฐมพยาบาล ฯลฯ
1.5
 
 
             4. เรื่องที่จะอธิษฐานขอจากพระแม่คงคาในวันลอยกระทงปีนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
สุขภาพแข็งแรงปราศจากโรคภัย
68.8
มีแต่สิ่งดีๆเข้ามาในชีวิต
58.2
ตนเองและครอบครัวมีความสุข
55.7
ให้โรคระบาดหมดไป
40.8
มีโชคลาภ เงินทอง
39.9
ปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ
34.9
ทำมาค้าขึ้น
27.5
เรียนได้เกรดดีๆ /การทำงานเจริญก้าวหน้า
26.5
อื่นๆ อาทิ ขอให้เศรษฐกิจดีขึ้น ขอให้ประเทศสงบร่มเย็น ฯลฯ
4.6
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับบรรยากาศการจัดงานเทศกาลลอยกระทงในปีนี้
หลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายแล้วว่าจะกลับมาคึกคักเหมือนเมื่อก่อนหรือไม่ จะช่วยกระตุ้นและฟื้นฟู
การท่องเที่ยวได้เพียงใด ตลอดจนเรื่องที่อยากฝากบอกผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดงานลอยกระทง
และเรื่องที่จะอธิษฐานขอพรจากพระแม่คงคาในปีนี้ ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคม
และผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ และการลงพื้นที่เก็บข้อมูล ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนักด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) และใช้การสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว
(face to face interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วย
ข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์
ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 29 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน 2565
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 8 พฤศจิกายน 2565
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
500
48.1
             หญิง
540
51.9
รวม
1,040
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
169
16.2
             31 – 40 ปี
162
15.6
             41 – 50 ปี
247
23.8
             51 – 60 ปี
251
24.1
             61 ปีขึ้นไป
211
20.3
รวม
1,040
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
590
56.7
             ปริญญาตรี
356
34.2
             สูงกว่าปริญญาตรี
94
9.1
รวม
1,040
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
93
8.9
             ลูกจ้างเอกชน
238
22.9
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
394
37.9
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
76
7.3
             ทำงานให้ครอบครัว
4
0.4
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
170
16.3
             นักเรียน/ นักศึกษา
57
5.5
             ว่างงาน
8
0.8
รวม
1,040
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898